ผลไม้ประจำฤดูฝน




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เงาะ

                      1.  เงาะ (Rambutan) เงาะเป็นผลไม้ที่อุดมด้วยวิตามินซี น้ำตาล และมีสารอาหารอีกมาก เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม
   ดีอย่างไร : เงาะมีสรรพคุณในการแก้บิด ท้องร่วง ท้องอืด ท้องเฟ้อ และแก้ไข้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถกินได้
   ดีทั้งผล : เปลือกเงาะมีรสฝาด มีสารแทนนินใช้เป็นยาขับพยาธิ เมล็ดมีฤทธิ์ทำให้หลับ ถ้านำผลเงาะมาต้มแล้วนำน้ำที่ได้มาใช้เป็นยาแก้อักเสบ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการอักเสบในช่องปาก ข้อควรระวัง คือ เม็ดในของเงาะมีพิษแม้ว่าจะเอาไปคั่วจนสุกแล้ว แต่ถ้ากินมากเกินไปจะมีอาการปวดท้อง เวียนศีรษะ มีไข้ คลื่นไส้หรืออาเจียนได้
2. กระท้อน (Santol) เนื้อกระท้อนอุดมด้วยวิตามินเอ ซี และบี 1 ฟอสฟอรัส แคลเซียม คาร์โบไฮเดรต เหล็ก ไนอะซิน เส้นใย โปรตีน และมีสารแอนติออกซิแดนท์สูงที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ แก้กระหายน้ำ ลดอาการเจ็บคอ ป้องกันการเกิดมะเร็ง บำรุงโลหิต แก้ลมจุกเสียด
ดีทั้งต้น : ใบผสมน้ำต้มอาบขับเหงื่อ แก้ไข้ รักษาโรคผิวหนัง  รากใช้เป็นยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้ไข้มาลาเรีย แก้บิด แก้ท้องร่วง หรือตำกับน้ำและน้ำส้มสายชู ดื่มแก้ท้องเดิน และช่วยขับลม
                             
3. ทุเรียน (Durian) เนื้อทุเรียนให้พลังงานความร้อน ถ้ากินทุเรียนในช่วงอากาศร้อนมากๆ จะทำให้รู้สึกร้อนและอึดอัด ทุเรียนให้สารอาหารสำคัญ เช่น โปรตีน น้ำตาล ไขมัน คาร์โบไฮเดรต รวมถึงแร่ธาตุต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย อาทิ สารกำมะถันมาก แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และวิตามินเอ
ข้อควรระวัง : ไม่ควรดื่มสุราเมื่อกินทุเรียน เพราะจะทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หลังกินทุเรียนควรกินมังคุดที่เป็นผลไม้มีฤทธิ์เย็นตาม เพื่อให้อุณหภูมิภายในร่างกายสมดุล
4. น้อยหน่า (Sugar apple / Custard apple) เนื้อน้อยหน่าอุดมไปด้วยโปรตีน ไขมัน น้ำตาล วิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก ช่วยให้ชุ่มคอ เป็นยาระบายอ่อนๆ
ดีทั้งต้น : เมล็ดในน้อยหน่ามีสารที่มีฤทธิ์ฆ่าแมลงเรียกว่า Squamocin เพียงนำเนื้อในเมล็ดมาโขลกผสมน้ำมันมะพร้าวใช้กำจัด โดยชโลมเส้นผมทิ้งไว้สัก 1-2 ชั่วโมง ผสมน้ำแล้วชโลมทั่วศีรษะเป็นวิธีกำจัดเหาที่ได้ผลดีมาก ผลน้อยหน่าดิบใช้เป็นยาแก้พิษงู แก้ฝีในลำคอ กลากเกลื้อน และฆ่าพยาธิผิวหนัง ผลแห้งใช้รักษาโรคงูสวัด เริม และฝีในหู นำไปโขลกพอกตัวแก้ฟกช้ำและทาแก้โรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน

                   5. ลำไย  (Longan) เนื้อลำไยมีวิตามินและสารอาหารหลายชนิด เช่น วิตามินซี บี 1 และบี 2 สูง แคลเซียม ฟอสฟอรัส น้ำตาลกลูโคส น้ำตาลซูโคส และฟรุกโตสสูง ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานควรหลีกเลี่ยง ลำไยช่วยให้นอนหลับสบาย ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย แก้ผอมแห้งแรงน้อย ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ บำรุงประสาท ขี้ลืม ใจสั่น บำรุงกำลังของสตรีภายหลังการคลอดบุตร ส่วนลำไยแห้งช่วยในการบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต และเมล็ดลำไยมีสารฝาดสมานที่ช่วยห้ามเลือด
       6. ลางสาด (Langsat) เป็นผลไม้ในสกุลเดียวกับลองกอง มีลักษณะใกล้เคียงกัน เนื้อลางสาดมีวิตามินซี บี 1 และบี 2 คาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซียม เหล็ก และฟอสฟอรัส
ดีทั้งต้น : เปลือกของต้นใช้รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้ไข้ เปลือกผล สามารถแก้อาการท้องร่วงท้องเดินได้ โดยการนำเปลือกมาหั่นแล้วนำไปคั่วชงกับน้ำเดือด กินครั้งละครึ่งถ้วย ส่วนเมล็ด นำมาฝนกับน้ำฝนให้ข้น ใช้เป็นยาหยอดหู แก้อักเสบ หรือเป็นฝีในหู ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ รักษาเริมและงูสวัดได้
             7. ฝรั่ง (Guava) เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีและเอ แคลเซียม โพแทสเซียม และเหล็กสูง มีสารเพกทินหรือใยอาหาร และสารแทนนิน ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ชะลอการลุกลามของมะเร็ง และทำให้ผิวพรรณดี แผลหายเร็ว ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวและสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยบรรเทาอาการท้องเดินได้ แต่ถ้ากินในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้ท้องผูก กรณีที่เครียดและมักมีอาการปวดศีรษะบ่อยๆ ให้นำผลฝรั่งอ่อนมาฝานบางๆ แช่เย็นแล้วปิดขมับ จะช่วยผ่อนคลาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น